วันพฤหัสบดีที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557



                                                             แบบฝึกหัดบทที่ 5
                                                                                                                     

                                                                                                                                              กลุ่มที่ เรียน   3 
                                                                                              รายวิชาการจัดการสารสนเทศยุคใหม่ในชีวิตประจำวัน                 
  รหัสวิชา 0026 008 ชื่อ –สกุล นางสาว มินตรา  สุวิชา        รหัส    57011313331 สาขา วิทยาลัยการเมืองการปกครอง






                                       คำชี้แจง   จงโยงคำที่สอดคล้องกันต่อไปนี้


             1                  วิ้งๆ                                             มาก ,เยอะแยะ

               2         ขาวโบ๊ะ                                                     ขาวแบบไม่เป็นธรรมชาติ

              3             เวอร์                                                 กระจ่างใส  , สดใส

               4       มาแว้ววววววววว                                       เริศค่ะ 

                5            เริศจี้                                                มาแล้ว


แบบฝึกหัดบทที่ 4

                                                                                                                                              กลุ่มที่ เรียน   3 
                                                                                              รายวิชาการจัดการสารสนเทศยุคใหม่ในชีวิตประจำวัน                 
  รหัสวิชา 0026 008 ชื่อ –สกุล นางสาว มินตรา  สุวิชา        รหัส    57011313331 สาขา วิทยาลัยการเมืองการปกครอง



คำชี้เเจ้ง  จงตอบคำถามต่อไปนี้ให้ถูกต้อง


1. คำว่า "จุงเบย"    หมายถึงอะไร


2." คุณพร้า"   คำสมบูรณ์ คือ อะไร



3. คำสแลงที่ซ้ำพยัญชนะ เป็น คำสแลงประเภทไหน


4. คำว่า " เอ๊าะ"   หมายถึงอะไร


5. คำว่า  " เด่ว"   หมายความว่าอะไร



แบบฝึกหัดบทที่ 3



                                                                                                                                              กลุ่มที่ เรียน   3 
                                                                                              รายวิชาการจัดการสารสนเทศยุคใหม่ในชีวิตประจำวัน                 
  รหัสวิชา 0026 008 ชื่อ –สกุล นางสาว มินตรา  สุวิชา        รหัส    57011313331 สาขา วิทยาลัยการเมืองการปกครอง




คำชี้เเจง  ให้ยกตัวอย่างคำสแลงใน นิตยสารมา 5 ข้อ

1

2

3

4

5




จงตอบคำถามต่อไปนี้ให้ถูกต้อง?


-คำสแลงในนิตยสารมักใช้ ในสื่ออะไรบ้าง  จำนวน 5 ข้อ


1

2

3

4

5

-นิตยสาร ชอบใช้คำสแลงพาดหัวข่าว ใช่หรือไม่ ?







  











แบบฝึกหัดบทที่ 2



แบบฝึกหัดบทที่ 2


         
                                                                                                                              กลุ่มที่ เรียน   3 
                                                                                              รายวิชาการจัดการสารสนเทศยุคใหม่ในชีวิตประจำวัน 

                 รหัสวิชา 0026 008 ชื่อ –สกุล นางสาว มินตรา  สุวิชา    รหัส    57011313331 สาขา วิทยาลัยการเมืองการปกครอง




จงให้ความหมายคำต่อไปนี้?


1.บ๋องตง   คือ.............................................................................................


2.จุงเบย  คือ....................................................................................


3.ฝุดๆ   คือ.....................................................................................


4.ช่ะ   คือ........................................................................................


5.ไรแว๊  คือ....................................................................................









จงตอบคำถามต่อไปนี้ ให้ถูกต้อง?


1.คนในช่วงอายุไหน ชอบใช้คำสแลงในFacebook มากที่สุด?



2.คำสแลงอะไรบ้างที่วัยรุ่นชอบใช้มากที่สุด?





-ข้อดีและข้อเสีย ของการใช้คำสแลของวัยรุ่นในปัจจุบัจ คือ ?





จงตอบคำถามต่อไปนี้


1.สาเหตุของการเกิดการเปลี่ยนแปลงทางภาษาในSocial Networkคือ?





                   2.ให้บอกความหมายของคำสแลงหรือคำคะนอง ว่ามีความหมายว่าอะไร?






                   3.ให้บอกความหมายของคำสแลงยุคใหม่ๆ?






จงหาคำตอบมาเติมประโยคให้ถูกต้อง


 การใช้ภาษาในช่วงอายุ...........................ปี ในวัยนี้จะอยู่ในช่วงวัยรุ่น........................... กำลังศึกษาอยู่ระดับปริญญาตรี



หรือวัยที่กำลังจะจบปริญญาตรี  ช่วงวัยนี้จะมีการใช้คำแสลงหรือ..................บ้างปนๆไปกับคำที่ถูกต้อง เนื่องจากเริ่มโตขึ้นวุฒิ



ภาวะทางอารมณ์และความคิดความอ่านมากขึ้น แต่อาจจะยังติดการใช้คำแสลงและคำคะนองบ้าง 



และการใช้ภาษาในช่วงวัยนี้สังเกตได้ว่าจะมีการ....................ในคำสุดท้ายเพื่อให้รู้สึกเหมือนภาษาพูดจริงๆ  เช่น






แบบฝึกหัดบทที่1

                                                           
                                                              แบบฝึกหัดบทที่1
                                                                                                                               กลุ่มที่ เรียน   3 
                                                                                              รายวิชาการจัดการสารสนเทศยุคใหม่ในชีวิตประจำวัน                 
  รหัสวิชา 0026 008 ชื่อ –สกุล นางสาว มินตรา  สุวิชา        รหัส    57011313331 สาขา วิทยาลัยการเมืองการปกครอง


จงตอบคำถามต่อไปนี้ให้ถูกต้อง



1.ประเภทของคำสแลง มีกี่ประเภท  ?


      ก.    1                                                               ค.  3      
ข.   2                                                                 ง.  4





2.คำใคจัดว่าเป็นคำสแลงแท้ ?
      


                            ก. ซ้าว                                                               ค.เกลาเหลา
                            ข.ก๋วยเตี๋ยว                                                        ง.แหนม


3.คำใดจัดว่าเป็นคำสแลงเทียม?

     

                                    ก.นุย                                                                  ค.เกลาเหลา
                                 ข.สงกรานต์                                                         ง.ฟรุ้งฟริ้ง

4. แสรด   จัดเป็นคำสแลงประเภทใด?



                                     ก.คำไทยแท้                                                           ค.คำสแลงแท้
                                     ข.คำสแลงเทียม                                                      ง.คำสแลงประสม


5. ข้อความใดต่อไปนี้ถูกต้อง



ก.คำสแลงเทียมที่เป็นคำนาม  เช่น ซ้าว  ป๊อพ  เก็กชง  ชิ้งฉ่อง  ตะแน็ว  มูเตรู

ข.คำสแลงแท้ที่เป็นคำอุทาน   จากข้อมูลมี  ๒ คำ คือ  แม่งเอ๊ย    แม่งโว้ย

ค.คำสแลงแท้ที่เป็นคำสรรพนาม  เช่น  (อี) เห็ดสด  (อี) กระซู่

ง.คำสแลงเเท้ที่เป็นคำนาม  เช่น  โบ  หยามโฮ   โม่ตาลา  สะมะนะแฮป

วันพฤหัสบดีที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2557

ศัพท์สแลงของวัยรุ่นไทยในปัจจุบัน

คำสแลงของวัยรุ่นไทยในปัจจุบัน

คำสแลง หมายถึง ภาษาสแลง คำสแลง หรือคำคะนอง (Slang)

คือถ้อยคำ สำนวน หรือภาษาพูดที่ใช้สร้างความเข้าใจเฉพาะกลุ่ม
ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในวัยหนุ่มสาว เป็นภาษาที่สร้างขึ้นเพื่อหลีกเลี่ยงการใช้ ภาษาไม่สุภาพ เป็นภาษาไม่เป็นแบบแผน แต่ไม่ใช่คำหยาบหรือ คำต่ำ แต่เป็นคำ พิเศษที่สร้างขึ้นเพื่อให้เกิดคำแปลก ๆ ผิดไปจากปรกติทั้งด้านเสียง รูป คำ และความหมายเป็นภาษาที่ไม่ปรากฏในพจนานุกรม หรือปรากฏในพจนานุกรมแต่ระบุ ว่าเป็นภาษาปาก  คำสแลงมีระยะเวลาการใช้ไม่นานก็จะสูญหาย ไปเพราะหมด    ความนิยม

  

 1.   ประเภทของคำสแลง
     คำสแลงสามารถจำแนกได้ ๓ ประเภท คือ คำสแลงแท้ คำสแลงเทียม และคำสแลงลักษณะประสม คำสแลงแต่ละประเภทมีลักษณะแตกต่างกัน กล่าวคือ
  
          ๑.๑.๑    คำสแลงแท้  หมายถึง คำสแลงที่ถูกกำหนดเสียงและความหมาย ขึ้นใหม่ อาจมีเค้าของเสียงและความหมายจากคำที่มีอยู่เดิมก็ได้ เช่น
       
                      ซ้าว   เป็นคำสแลงที่กำหนดเสียงใหม่โดยเปลี่ยนเสียง พยัญชนะต้นและเสียงวรรณยุกต์จากคำเดิม “สาว” ซึ่งมีเค้าของเสียงเดิมแต่มี ความหมายต่างจากเดิมคือ หมายถึงผู้ชายกะเทยที่มีพฤติกรรมแสดงตนว่าเป็นหญิง ไม่ใช่ชาย ดังตัวอย่างประโยค     “สมศักดิ์เป็นซ้าวนะ”
      
                      นุย    เป็นคำสแลงที่กำหนดเสียงใหม่และความหมาย ใหม่ ซึ่งมีความหมายว่า ตั้งใจทำ  ดังตัวอย่างประโยค  “นุชเธอต้องนุยประโยค นี้ให้ได้นะ”
         ๑.๑.๒ คำสแลงเทียม หมายถึง คำสแลงที่นำคำซึ่งมีอยู่ในภาษามาใช้ใน ความหมายใหม่ อาจเป็นความหมายเชิงอุปมา หรือความหมายต่างจากเดิมโดยสิ้น เชิง หรือใช้ในหน้าที่ซึ่งกำหนดขึ้นใหม่ เช่น
                       แหนม  เป็นคำสแลงที่นำคำซึ่งมีอยู่ในภาษามาใช้ใน ความหมายเชิงอุปมาโดยนำลักษณะแหนมที่มัดเป็นเปลาะอ้วนกลมเป็นปล้อง ใช้ใน เชิงความเปรียบลักษณะรูปร่างคนอ้วนเตี้ย ดังตัวอย่างประโยค“ยายแหนมเดินมา นั่นแล้ว”
      
                       เกาเหลา  เป็นคำสแลงที่นำมาจากคำเดิม คือ “เกาเหลา” ซึ่งเรียกก๋วยเตี๋ยวที่ไม่ใส่เส้น ไม่ต้องการกินเส้น สังคม วัยรุ่นได้นำคำนี้มาใช้ความหมาย ไม่กินเส้น คือ ไม่ชอบกัน, เข้ากันไม่ ได้ ดังตัวอย่างประโยค“สมชายเกาเหลากับเพื่อน”

          ๑.๑.๓  คำสแลงลักษณะประสม  หมายถึง คำสแลงที่ตัดพยางค์หรือประสมคำระหว่างคำสแลงแท้กับคำสแลงเทียม เช่น
     
                       ก๊ะ  เป็นคำสแลงที่ตัดคำจากคำเดิม “กะเทย” เปลี่ยน เสียงวรรณยุกต์เพื่อสื่อความหมายทางอารมณ์ ดังตัวอย่างประโยค
“โอย ! นังหนุ่มเป็นก๊ะเหมือนเรา”
     
                       สะมะนะแฮป  เป็นคำสแลงที่ประสมระหว่างคำสแลงแท้ คือ “สะมะนะ” กับคำสแลงเทียมคือ “แฮป” มาจากคำเดิม
“Happy” หมายถึง สุข, ความสุข    ตัดเสียงพยางค์ท้าย “py”
แต่ยังคงเค้าความหมายเดิมอยู่ คือ “สะมะแฮป”แปลว่า ความสุข ดังตัวอย่างประโยค “สุชาดากินข้าวกะแฟนสะมะนะแฮป”
๑.๒   การจำแนกชนิดของคำสแลง
     คำสแลงแต่ละประเภทคือ คำสแลงแท้ คำสแลงเทียม และคำสแลงลักษณะประสม ดัง ที่กล่าวมานั้น แต่ละประเภทสามารถจำแนกออกเป็นชนิดย่อย ๆ ตามหน้าที่ของคำ ได้ดังต่อไปนี้

        ๑.๒.๑  ชนิดของคำสแลงแท้  จำแนกตามหน้าที่ของคำและการปรากฏในตำแหน่งประโยค ดังนี้
         ๑.  คำสแลงแท้ที่เป็นคำนาม  เช่น ซ้าว  ป๊อพ  เก็กชง  ชิ้งฉ่อง  ตะแน็ว  มูเตรู
         ๒.  คำสแลงแท้ที่เป็นคำสรรพนาม จากข้อมูลพบเพียง  ๑ คำ คือ แม่ง
         ๓.  คำสแลงแท้ที่เป็นคำกริยา  เช่น  มิ่ว  ติงนัง  เหวอเข่อเว่อ  อิปเป๊ะอิบปั๋ง
         ๔.  คำสแลงแท้ที่เป็นคำวิเศษณ์  เช่น  อึ๋ม  สะแด่ว  สะปุ้ยตุ่ย
         ๕.  คำสแลงแท้ที่เป็นคำอุทาน   จากข้อมูลมี  ๒ คำ คือ  แม่งเอ๊ย    แม่งโว้ย

        ๑.๒.๒  ชนิดของคำสแลงเทียม  จำแนกตามหน้าที่ของคำและการปรากฏในตำแหน่งประโยค  ดังนี้
         ๑.  คำสแลงเทียมที่เป็นคำนาม   เช่น   แหนม   ม่าม่า   ทูอินวัน  หัวเห็ด
         ๒. คำสแลงเทียมที่เป็นคำสรรพนาม  เช่น  (อี) เห็ดสด  (อี) กระซู่
         ๓. คำสแลงเทียมที่เป็นคำกริยา  เช่น  ตุ๋ย  ขอเบียร์  ลอยกระทง  หนีบโจ๊ะ
          ๔.  คำสแลงเทียมที่เป็นคำวิเศษณ์  เช่น  ตู้ม  บูริน  สวิงกิ้ง  ประมาณนั้น
          ๕.  คำสแลงเทียมที่เป็นคำสันธาน  จากข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้มี  ๒ คำ คือ แบบว่า    ประมาณว่า
          ๖.  คำสแลงเทียมที่เป็นคำอุทาน จากข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้มี  ๒  คำ คือ ให้ตายเถอะโรบิ้น และ อกอีแป้นแล่นลึกเข้าตึกแขก
           ๑.๒.๓ ชนิดของคำสแลงลักษณะประสม จำแนกตามหน้าที่ของคำและการปรากฏในตำแหน่งประโยค  ดังนี้
         ๑. คำสแลงลักษณะประสมที่เป็นคำนาม  เช่น  โบ  หยามโฮ   โม่ตาลา  สะมะนะแฮป
         ๒.คำสแลงลักษณะประสมที่เป็นคำสรรพนามและคำอุทาน  จากข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้มี ๑ คำ คือ อีแควด
         ๓. คำสแลงลักษณะประสมที่เป็นคำกริยา  จากข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้มี ๕ คำ คือ แด็ะ  แชท  บิวท์  เฟิร์ม  มีพาว
         ๔. คำสแลงลักษณะประสมที่เป็นคำวิเศษณ์   จากข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้มี  ๖ คำ คือ ก็อบ  เจิด  แจ่ม  เซวส์ เซอร์  ล้ำ 
              นอกจากการวิเคราะห์คำสแลงประเภทและชนิดต่างๆ แล้วผู้เขียนยัง วิเคราะห์การสร้างคำสแลงลักษณะคำประสม  เช่น  กะเทยควาย  หอยมด  นางฟ้าออ นไลน์  ฯลฯ   การสร้างคำสแลงลักษณะคำซ้ำ   เช่น  เด็กๆ  ซิ่วๆ   ฯลฯ    การ สร้างคำสแลงลักษณะวลี  เช่น  นิ่งหลับขยับแดก  สายเดี่ยวเคี้ยว หมาก ฯลฯ  และการสร้างคำสแลงลักษณะที่เป็นประโยค  เช่น  กระเป๋ารั่ว  หมา ร้องไห้  ไข่ดาวถูกตะหลิวตบ  เต่าเรียกแม่   เม็ดแมงลักไม่พองน้ำ  สมองไม่ มีรอยหยัก  ฯลฯ   สุดท้ายคือการวิเคราะห์ที่มาและความหมาย   เช่น

               กะเทยควาย     เป็นคำนาม หมายถึง ผู้ชายกะเทยที่มี  รูปร่างใหญ่โตไม่น่าดูและไม่ฉลาด
               ที่มา  มาจากการประสมคำระหว่าง “กะเทย”
กับ “ควาย” เกิดความหมายใหม่ที่ยังคงเค้าความหมายเดิมและโยงความหมายรูป ลักษณ์ของ “ควาย” สัตว์ตัวใหญ่และความหมายโดยนัยแปลว่า “โง่ ไม่ฉลาด”  เป็น ความเปรียบผู้ชายกะเทยที่มีรูปร่างใหญ่ไม่น่าดูและไม่ฉลาด
               ตัวอย่าง :  สันต์กะเทยควายประจำกลุ่ม

               ซ่าไม่ซ่าก็เยี่ยวเป็นฟอง  เป็นคำกริยาหมายถึงไม่เกรงกลัวผู้ใด
               ทีมา  น่าจะมาจากความหมาย “ซ่า” คำสแลงเดิม หมาย ถึง ไม่กลัวใคร สร้างกลุ่มคำโดยใช้ภาษาเพื่อให้เกิดภาพพจน์เป็นความ หมายกว้างออก
               ตัวอย่าง :  ดูเอาละกัน ผมซ่าไม่ซ่าก็เยี่ยวเป็นฟองละกัน
               ได้หน้าลืมหลัง      เป็นคำนาม หมายถึง ผู้ชายที่มีพฤติกรรมเบี่ยงเบนทางเพศ
               ที่มา   มาจากสำนวน “ได้หน้าลืมหลัง”  หมายถึง ผู้ที่ หลงลืมง่าย เป็นคำสแลงชนิดกลุ่มคำความหมายกว้างออก หมายถึง ผู้ชายที่แต่ เดิมมีพฤติกรรมบี่ยงเบนทางเพศ แต่เมื่อพบหญิงสาวก็ลืมชายคนรักโดยสนิท
               ตัวอย่าง :  ไม่อยากพูดถึงสุรเดชไอ้พวกได้หน้าลืมหลัง
     ติงนัง  เป็นคำกริยา หมายถึง มีเพศสัมพันธ์
               ที่มา  มาจากเพลงลูกทุ่งที่มีชื่อเสียงของนักร้อง
รุ่ง สุริยา  ชื่อเพลง “ติงนัง”ซึ่งเดิมเสียงติงนังเป็นคำเลียนเสียง ธรรมชาติการตีกลองโทน แต่ในเพลงสื่อความหมายนัย หมายถึงมีเพศ สัมพันธ์ ปัจจุบันความหมายสื่อกันในกลุ่มรักร่วมเพศ
               ตัวอย่าง :  ใคร ๆ ก็รู้ว่าศักดิ์กับชายติงนัง
               สายเดี่ยวเคี้ยวหมาก   เป็นคำนาม หมายถึง หญิงสูงอายุแต่แต่งตัวเป็นเด็กวัยรุ่น
               ที่มา  มาจากแฟชั่นสาววัยรุ่นในฤดูร้อนที่จะสวมเสื้อคอลึก เป็นรูปสี่เหลี่ยมมีสายเล็ก ๆ เป็นหูพาดไหล่ยึดส่วนหน้ากับส่วนหลัง เรียก กันทั่วๆ ไปว่า“สายเดี่ยว”เติมพยางค์ท้าย2พยางค์
“เคี้ยวหมาก”  มีความหมายโดยนัย หมายถึง ผู้สูงอายุ เป็นกลุ่มคำแสดงความเปรียบผู้หญิงสูงอายุที่แต่งตัวเป็นเด็กสาววัยรุ่น
               ตัวอย่าง :  ดูป้าทำตัวเป็นสายเดี่ยวเคี้ยวหมาก
                                       ฯลฯ
       การศึกษาคำสแลงนอกจากจะให้ความรู้เชิงภาษาดังกล่าวข้างต้นแล้ว คำ สแลงยังให้ความรู้เกี่ยวกับสภาพสังคม ความเจริญทางเทคโนโลยี และวัฒนธรรม ประเพณีในสังคมช่วงปี  ๒๕๔๐ – ๒๕๔๕   ดังต่อไปนี้
    ๑)  สภาพสังคม  คำสแลงที่เกิดขึ้นในช่วงปี  ๒๕๔๐ – ๒๕๔๕  ได้แสดงให้เห็นสภาพสังคมไทยในช่วงนั้นหลายประการเช่น
             ๑.๑)  สังคมไทยเป็นสังคมเปิดมากขึ้น  ยอมรับสิทธิส่วนบุคคลมาก ขึ้น โดยเฉพาะเรื่องเพศ   เห็นได้จากการสร้างคำสแลงใช้สื่อเฉพาะกลุ่มผู้มี พฤติกรรมเบี่ยงเบนทางเพศ และการสร้างคำสแลงเพื่อหลีกเลี่ยงคำต้องห้ามเกี่ยว กับเพศมีมากขึ้น เช่น
                       ตะแน็ว  ตุ๊ด  ทีบี  ทูอินวัน  ทีพี  น้องจุง  น้อง ตุ้ม  เสือไบ  หยามโฮ  กระดุ้ย เก็กชง  ซองจู  เด้อ  สวิงเด้ง  หนีบ โจ๊ะ  แอ๊บ  ซ้าว  ชะนี  เห็ดสด  หน้าหม้อ  หูดำ    ชาวดอกไม้   ชาวสี ม่วง  ได้หน้าลืมหลัง  กระเทยความ  ติงนัง  บ๊วบ   น้อง   อึ๊บ  กีฬาใน ร่ม  เป็นต้น
             ๑.๒)  สังคมกรุงเทพฯเป็นสังคมสมัยใหม่มากขึ้น ซึ่งเห็นได้จาก คำสแลงที่มีใช้เฉพาะกรุงเทพฯเท่านั้น เช่น หยามโฮ             ผีมะขาม  ผี ขนุน ป๊อพ  เป็นต้น
             ๑.๓)  เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคม คำสแลงบางคำเกิดขึ้นเพราะ เกิดเหตุการณ์ในสังคมช่วงนั้น เช่น   ตุ๋ย   สวิงกิ้ง    โม่ตาลา    น้อง ตุ้ม  เป็นต้น
             ๑.๔)  การติดต่อสัมพันธ์กับต่างประเทศมีมากขึ้น ซึ่งเห็นได้จาก อิทธิพลภาษาต่างประเทศที่นำมาสร้างคำสแลงลักษณะคำประสมระหว่างคำไทยกับคำ ต่างประเทศ หรือทับศัพท์ เช่น  เพื่อนเทค   เยเย่    มีพาว  เป็นต้น
     ๒)  ความเจริญทางเทคโนโลยี  คำสแลงที่เกิดจากภาษาที่ใช้ในคอมพิวเตอร์ หรือโทรศัพท์ ซึ่งเป็นเทคโนโลยีในสังคมยุคข้อมูลข่าวสารไร้ พรมแดน   เช่น    ดำดอทคอม แชท นางฟ้าออนไลน์  เป็นต้น ได้แสดงให้เห็น ถึงความเจริญทางเทคโนโลยีในช่วงเวลาที่ศึกษา
     ๓)  การเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมประเพณี คำสแลงบางคำทำให้เห็นความ เปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมประเพณี เช่น สายเดี่ยวเคี้ยวหมาก หมายถึง ผู้หญิงที่มี อายุแต่แต่งตัวแบบวัยรุ่น คือ สวมเสื้อสายเดี่ยวที่เปิดเผยเนื้อหนัง การ แต่งกายเช่นนี้ไม่เหมาะสมกับผู้มีอายุ เมื่อผู้มีอายุแต่งกายเช่นนี้ก็จะ ถูกล้อเลียนด้วยคำสแลงว่า “สายเดี่ยวเคี้ยวหมาก”

        คำสแลงที่เกิดขึ้นและใช้อยู่ในช่วงปี  ๒๕๔๐ – ๒๕๔๕   ดังที่รวบรวม มาได้จากการศึกษาครั้งนี้นับเป็นปรากฎการณ์ทางภาษาที่สอดคล้องกับสภาพสังคม และวัฒนธรรมในเวลานั้น   ในช่วงเวลาต่อไปสภาพสังคมและวัฒนธรรมก็จะเปลี่ยน แปลงไปอีกและคำสแลงก็จะเกิดขึ้นใหม่อีก จึงควรมีการศึกษารวบรวมปรากฏการณ์ ทางภาษาลักษณะนี้ไว้ เพื่อเป็นหลักฐานที่มีประโยชน์ต่อการศึกษาภาษาและ พัฒนาการทางสังคม

         ในปีช่วงระยะเวลานี้จะพบว่าเกิดคำสแลงใหม่หลายคำ   อาทิ  เด็กสก็ อย  เด็กแว็นส์    ฯลฯ  คำสแลงที่พบในที่ผู้เขียนศึกษาบางคำก็หายไป เช่น คำ ว่า  นุย   ตะแน็ว  เป็นต้น   และคำสแลงบางคำก็ยังคง อยู่  เช่น   อึ๊บ  กะเทยควาย     ได้หน้าลืมหลัง   เป็นต้น
        คำสแลง(ภาค ๑) ที่ผู้เขียนรวบรวมในปี พ.ศ.๒๕๔๐ – ๒๕๔๕  ผู้เขียนรวบรวมได้ ทั้งหมด ๓๗๔  คำ และได้นำคำสแลงทุกคำมาวิเคราะห์ประเภท ชนิด การสร้างคำ และ ความหมายของคำสแลงไว้ในหนังสือเรื่อง “คำสแลง” ที่พิมพ์เป็นรูปเล่มและมอบ ให้ห้องสมุดต่าง ๆ ได้แก่ หอสมุดแห่งชาติ หอสมุดมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิ โรฒ    ศูนย์วิทยบริการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  หอสมุดกลางมหาวิทยาลัย ศิลปากร วังท่าพระ  เป็นต้น  หากท่านใดสนใจอ่านฉบับเต็มก็สามารถหาอ่านได้ ที่หอสมุดข้างต้น






ตัวอย่างศัพท์แสลงในวัยรุ่นไทย

            บ่องตง      = บอกตรง ๆ

            ถ่ามตง      = ถามตรง ๆ

            ต่อมตง     = ตอบตรง ๆ

            เตง         = ตัวเอง

            หยั่มมา    = อย่ามา

            ไรแว๊       = อะไรวะ

            น่ามคาน  = น่ารำคาญ

            อัลไล     = อะไร

            น่าร็อคอ่ะ = น่ารักอ่ะ

            ไรหรา    = อะไรเหรอ

            ช่ะ        = ใช่ป่ะ

            จุงเบย   = จังเลย

            ฝุด ๆ     =  สุด ๆ

            ชิมิ       = ใช่มั้ย

            มะรุ      = ไม่รู้

            มะเปง   = ไม่เป็น

            เมพขิง ๆ = เทพขิง ๆ

            ขออำไพ = ขออภัย

            โอป่ะเตง = โอเครึเปล่าตัวเอง

            คีบับ      = คือแบบ

            จิบิ, จุ๊บุ  = จุ๊บ

            สะเบย   = สบาย

            กงกง    = ตรงตรง





โอ้ว! จอร์จ มันยอดมาก แปลว่า เจ๋งมาก 
จิ๊บ  แปลว่า เป็นอาการดีอกดีใจกระดี้กระด้าเมื่อเจอหนุ่มหล่อวัยใส
มาแว้ว แปลว่า มาแล้วจ้า 
วันนี้โปร่ง แปลว่า วันนี้ไม่ได้พาแฟนมาด้วย 
พกข้าวห่อ แปลว่า ไปต่างจังหวัดหรือไปเที่ยวไกลๆ แล้วเอาแฟนไปด้วย
เฟิร์มนะ แปลว่า ตกลงแน่นอนตามนั้นใช่ไหม
กิ๊ก แปลว่า มากกว่าเพื่อนแต่ไม่ใช่คนรัก 
ซะงั้น แปลว่า ทำได้ไง ทำแบบนั้นเฉยเลย 
วิ่นวือ แปลว่า วุ่นวายสุดๆ
นอย แปลว่า หวาดระแวง กังวล (มาจากพารานอย) 
สุย แปลว่า หนุ่มที่แต่งตัวไม่เข้ากับเวลาและสถานที่ 

จีว่า แปลว่า แต่งตัวเว่อร์ หรือแสดงแอ็กชั่นเว่อร์มาก
เกิร์ป แปลว่า โง่มากมาย
จูบู้ แปลว่า สาวที่แต่งตัวเซ็กซี่มาก 
เด้ง แปลว่า ใสมาก ขาวมากเด่นมาก
ชิว-ชิว แปลว่า เล็กๆ จิ๊บๆ
เยก แปลว่า ขี้เหร่
ตู้ แปลว่า เด็กเรียน 
โอ แปลว่า โอเค ตกลง
ปู๊ แปลว่า แฟน
สิว-สิว แปลว่า เรื่องขี้ผง เรื่องเล็กๆ ง่ายมาก 
ป๊อก แปลว่า งีบหลับ
ขี้เม้ง แปลว่า ชอบวีน ชอบโวยวาย
เนียน แปลว่า ทำได้กลมกลืน ทำแนบเนียนดีมาก
วีนแตก แปลว่า ชอบอาละวาด ชอบโวยวาย
อิม แปลว่า เป็นไปไม่ได้ (มาจากimpossible) 

ซึม แปลว่า พวกชอบทำไม่รู้ไม่ชี้ แต่ที่แท้ตัวดี 
ป๊อด แปลว่า ไม่กล้า
เซี๊ยะ แปลว่า ยุแหย่
มีเชิง แปลว่า ฟอร์มดีหรือเก่งในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง 
กล้านะ แปลว่า ช่างทำได้นะ ไม่อายเลย (กล้าพูดหรือกล้าแต่งตัว) 
เนิบ แปลว่า เรื่อยๆ สบายๆ
ซอร์ แปลว่า ติ้สท์ๆดิบๆเถื่อนๆปอนๆ แต่เท่ห์
โปร แปลว่า คนที่เราหวังอยู่ คนที่แอบชอบ
เอาต์ แปลว่า ตกยุคแล้ว
วัยรุ่นเซ็ง แปลว่า ไม่ถูกใจเลยน่ะสิ
ปาดหน้าเค้ก แปลว่า หยามกันซึ่งๆหน้า 
ซับแหมน แปลว่า เป็นไงพวก (มาจาก What's up man?) 
กิ๊บ แปลว่า เจ๋งมากๆ
เบๆ แปลว่า ง่ายๆ หมูๆ

อัพน่าดู แปลว่า คึกน่าดู ซ่ามาก สนุกมาก
อัฟเฟรด อะเฟรด แปลว่า แย่มาก รับไม่ได้ 
เซด แปลว่า พูด
สาวก แปลว่า แฟนพันธุ์แท้ 
ง้องแง้ง แปลว่า งอนกัน ทะเลาะกัน 

โจ๊ะๆ แปลว่า จังหวะมันส์ๆ
เหนี่ยวสักที แปลว่า ต่อยตีกัน 

แกสบี้ แปลว่า แก่มาก
ออนป้า แปลว่า ทำตัวแก่ประมาณคุณป้า 

จีบี [GB] แปลว่า คนรับใช้ รับทำทุกอย่าง (มาจากคำว่า General เบ๊ )


สำหรับชุดนี้เก็บมาฝากคะเพราะมีน้องๆบอกมาว่าอันข้างบนเชยละ..กำจิงๆตามเทรนวัยรุ่นไม่ทันละหราคะเนี๊ย!!แย่จุงเบย >>>ซะงั้น( อ้าว แย่เลย ) ….วื่นวือ ( วุ่นวาย มากๆ )………..ไอ๊สุยยยย (ซ้มมก)… .. จุ๊บุ (น่ารัก คิกขุ) …….. ยาวปาย ( ทำต่อไปให้นานๆ )………เงิบ ( งงเลย )…….อึบ ( มีเพศสัมพัน)…..เนิด (เด็กเรียน ใส่แว่นหนา)………..ชิวๆ (ง่ายๆสบายๆ)……….ป๊อด( อ่อน ไม่กล้า)…….โอ(โอเคร ได้อยู่)……………กิ้กก้อก (กระจอก )………หงุ๊งหงิ๊ง (เด็กๆ )………นอย(งอล น้อยใจ)………….โจ๊ะ (จังหวะดนตรี)…………จ๊าบ(เท่ )……….แจ่ม( สวย เริด )………ร่าน( เจ้าชู้ )…………..เสล่อ( ชอบสอดรู้สอดเห็น)………..เห่อหมอย( —– )………..เย็ดม่อน( ตกใจ สะดุ้ง)………สุดซอย (ยกเหล้าหมดแก้ว)………ไป4 (ไปฉี่)………..แม่เจ้า(สุดยอด)……….แหลลลลล ( ตอแหล)…………….. ตี๋หิด ( ติด ผู้หญิง ติดแฟน)……….เทพ( เก่งมากๆ )…………..ชะนี ( ผู้หญิง )……….ไม่ไหวจะเคลีย ( พูดกับคนที่ทำตัว แย่)……….



2.การใช้ภาษาใน Facebook
การใช้ภาษาในช่วงอายุระหว่าง13-18ปี
        -  การใช้ภาษาในช่วงอายุระหว่าง13-18ปี ในช่วงนี้ถือเป็นวัยรุ่นตอนต้น ที่กำลังศึกษาในระดับชั้นมัธยมมักใช้ภาษาแสลงหรือคำคะนองกันอย่างแพร่หลายเนื่องจากสะดวก สะกดง่าย เข้าใจง่าย สื่อสารกันง่ายในกลุ่มเพื่อนและคนสังคมเดียวกัน  
                -  คำแสลงหรือคำคะนอง เป็นคำศัพท์หรือสำนวนที่ไม่เป็นทางการ โดยทั่วไปอาจจะเกิดจากการสร้างคำขึ้นมาใหม่โดยการ       เปลี่ยนคำ เปลี่ยนความหมาย และความขบขันหรือน้ำเสียงในการพูด ศัพท์หรือสำนวนเหล่านี้อาจจะใช้เฉพาะคนในวงการใดวงการหนึ่ง หรืออาชีพใดอาชีพหนึ่ง 
               - คำแสลงยุคใหม่ๆ มีข้อน่าสังเกตว่า หลายคำมาจากอิทธิพลของภาษาญี่ปุ่น และเกาหลี มาประยุกต์ และหลายคำมาจากภาษาทาง MSN โดยเป็นคำเฉพาะของผู้ส่งสารกับผู้รับสาร  มีการใช้สัญลักษณ์แสดงสีหน้าและอารมณ์ เช่น >_< , ^_^, *_*, T_T,  :)

การใช้ภาษาในช่วงอายุ19-24ปี
 
 

            การใช้ภาษาในช่วงอายุ19-24ปี ในวัยนี้จะอยู่ในช่วงวัยรุ่นตอนปลาย กำลังศึกษาอยู่ระดับปริญญาตรีหรือวัยที่กำลังจะจบปริญญาตรี  ช่วงวัยนี้จะมีการใช้คำแสลงหรือคำนองบ้างปนๆไปกับคำที่ถูกต้อง เนื่องจากเริ่มโตขึ้นวุฒิภาวะทางอารมณ์และความคิดความอ่านมากขึ้น แต่อาจจะยังติดการใช้คำแสลงและคำคะนองบ้าง และการใช้ภาษาในช่วงวัยนี้สังเกตได้ว่าจะมีการลากเสียงในคำสุดท้ายเพื่อให้รู้สึกเหมือนภาษาพูดจริงๆ เช่น มากกกกกกกกกกกกกกกกกกก, ช่ายยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยย เป็นต้น 

 การใช้ภาษาในช่วงอายุ25-30ปี

 
      - การใช้ภาษาในช่วงอายุ25-30ปี ในช่วงนี้อยู่ในช่วงวัยทำงานตอนต้นที่พึ่งเริ่มทำงาน สังเกตได้ว่าจะมีการใช้ภาษาที่ถูกต้องมากขึ้นไม่ค่อยมีคำแสลงหรือคำคะนองให้เห็นมากนัก แต่ยังมีการใส่ไอคอนแสดงอารมณ์ในประโยคให้เห็นอยู่บ้าง 

การใช้ภาษาในช่วงอายุ 31 ปีขึ้นไป 

 

   - การใช้ภาษาในช่วงอายุ 31 ปีขึ้นไป ในช่วงวัยนี้อยู่ในวัยทำงานตอนปลายไปจนถึงวัยเกษียณ เราจะสังเกตได้ว่าใช้ภาษาได้ถูกต้องและมีการเรียบเรียงประโยคอย่างดี มีการลำดับเหตุการณ์ลำดับประโยคขึ้นต้นและประโยคจบได้ถูกต้อง  และมีการใส่ไอคอนแสดงอารมณ์ด้วย

สาเหตุของการเกิดการเปลี่ยนแปลงทางภาษาในSocial Network
                -เพื่อให้สื่อสารได้อารมณ์มากขึ้นและต้องการความแปลกใหม่ ได้แก่การต้องการให้ตลกขบขัน หรือดูน่ารัก มีการเปลี่ยนรูปคำโดยการเปลี่ยนหรือเพิ่มพยัญชนะ สระ วรรณยุกต์เข้าไป อาจเปลี่ยนรูปคำแต่อ่านได้เหมือนเดิม เช่น รัก เป็น ร๊าก ให้ เป็น หั้ย ค่ะ เป็น คร่ะ หนู เป็น นู๋ รูปประกอบ เป็นรูปปลากรอบ สุดตีนเป็นสุดตรีน เป็นต้น รวมไปถึงการใช้สัญลักษณ์แสดงอารมณ์ต่างๆ เช่น >_< , ^_^, *_*, T_T,  :)
                -เพื่อให้มีความสะดวกรวดเร็วในการพิมพ์โต้ตอบ อินเตอร์เน็ตเป็นสื่อที่สามารถเข้าถึงได้อย่างรวดเร็วและโต้ตอบได้ มีโปรแกรมสนทนาในอินเตอร์เน็ตหรือ MSN ซึ่งต้องอาศัยความเร็วในการพิมพ์ สำหรับfacebookแล้วอาจไม่ใช่การโต้ตอบกันโดยทันที แต่ผู้ใช้เว็บบอร์ดอาจอาศัยความเคยชินจากการเล่น MSN ด้วย คือตัดพยัญชนะ สระ วรรณยุกต์ออก เช่น เดี๋ยว เป็น เด๋ว เป็น เป็น เปง หรือคำที่พิมพ์ยากๆต้องกดปุ่ม Shift ก็มักจะหาพยัญชนะอื่นที่มีเสียงเหมือนกันมาแทนเพื่อให้สื่อความหมายได้เหมือนเดิม  เช่น รำคาญ เป็น รำคาน ขอบคุณ เป็น ขอบคุน 


3.คำสแลงของวัยรุ่นในนิตยาสาร

"อั้ม พัชราภา" ปัดจิ้น"เวียร์" ทำ"แอมป์"หึง

1 ชั่วโมงที่แล้ว
     สำหรับซุปตาร์อย่างสาว"อั้ม พัชราภา" หลังออกมาเคลียร์เรื่องความรักไปได้สักพัก จู่ๆก็มีกระแสข่าวออกมาว่า สาว"อั้ม" กำลังจิ้นอยู่กับหนุ่ม"เวียร์ ศุกลวัฒน์"เลยเป็นเหตุให้หนุ่ม"แอมป์"หึง   ล่าสุดเจ้าตัวได้ออกมาเผยว่านักข่าวว่า...

     "ไม่ได้จิ้นเวียร์จนทำให้แอมป์หึง เพราะสถานะคลุมเครือ เผยสภาพจิตใจดี รับน้ำหนักลง ปัดตรอมใจ ไม่ซีเรียสหากวันเกิดไร้คู่ฉลอง หวั่นคนโยงมือ3กึ้ง-จ๋า วอนอย่าดึงเอี่ยว"

                                                                                    credit.Party Tvpool 

อุบ! "เอ๋ ชนม์สวัสดิ์" ถ่ายรูปร่วมเฟรม "ตู่ นันทิดา"

3 ชั่วโมงที่แล้ว

อุบ!
    กลายเป็นที่จับตามองไม่น้อยสำหรับภาพที่หนุ่ม"เป๊ก สัญชัย" ได้โพสต์ในIG เป็นภาพหนุ่ม"เอ๋ ชนม์สวัสดิ์"  ถ่ายรูปร่วมเฟรมกับอดีตภรรยา พี่"ตู่ นันทิดา" พร้อมข้อความว่า.."สุขสันต์วันเกิดพี่ชายสุดที่รักครับ" ซึ่งทำให้บรรดาแฟนคลับกดไลน์  แต่งานนี้ไม่รู้ว่าภาพดังกล่าวเป็นภาพที่ถ่ายใหม่หรือเปล่า?

                                                                                                                    credit.IG pegliyah

"นัททิว" เฟี้ยวฟ้าว!! เปิดซิงเกิ้ลเกาหลี ขึ้นโชว์คอนเสิร์ตเวทีดัง

เมื่อวานนี้






  เรียกได้ว่าโกอินเตอร์อย่างเต็มตัว สำหรับหนุ่ม "นัททิว  ณัฏฐ์ ทิวไผ่งาม" ที่เปิดตัวซิงเกิ้ลเพลงใหม่ล่าสุด "Love will be O K"   ฟีดเจอริ่งกับนักร้องดังของเกาหลี "ซอนโฮยอง"  แถมยังได้ขึ้นเวทีคอนเสิร์ตดังๆระดับชั้นนำของเกาหลี  ทั้ง Mwave  , SBS-MTV  , MCountdown

       ถือเป็นตัวแทนประเทศไทยอีก 1คน ที่ก้าวไปสู่วงการ K-POP ได้อย่างน่าภูมิใจเชียวล่ะ!!

                                                                                                                             Cr.Natthewclub







"เอมมี่" เชิดใส่ "ฮาเวิร์ด" จวกโง่! ท้าอยากง้อ ผ่าน ตม.ให้ได้ก่อน

เมื่อวานนี้
       ออกมาเปิดใจออกสื่ออย่างชัดเจน สำหรับสาวอึ๋ม "เอมมี่ อมลวรรณ" ที่ออกมาบอกว่าเลิกกับหนุ่ม ฮาเวิร์ด แล้ว เหตุเพราะฝ่ายชายหึงมากเกินไป แล้วฝ่ายชายก็ยังนอกใจมีคนอื่นอีกด้วย  

       โดยเจ้าตัวเผยอย่างเผ็ดร้อนว่า ในเมื่อฮาเวิร์ด นอกใจมีคนอื่นได้  เอมมี่ ก็จะควงผู้ชายคนใหม่เย้ย แล้วจะลง IG โชว์ให้ดูด้วย  แถมยังกล่าวปิดท้ายว่า ถ้าอยากจะมาง้อ แน่จริงก็ผ่านด่าน ตม. เข้ามาประเทศไทยให้ได้สิ!!


                                                                                                    Cr.ภาพ IG mmyamalawan


4.คำสแลงของวัยรุ่น ที่ใช้เฉพาะกลุ่ม

ครูภาษาไทยยัน “ศัพท์วัยรุ่น – ศัพท์เฉพาะกลุ่ม – ศัพท์แสลง” ไม่กระทบโครงสร้างภาษาไทย

ประเด็น “ศัพท์วัยรุ่น – ศัพท์เฉพาะกลุ่ม – ศัพท์แสลง” ผมเคยทำเป็นข่าวให้ทีม กรุงเทพธุรกิจทีวี และทำเป็นสกู๊ปทีวี เมื่อประมาณเดือน พ.ย. 2555 ที่ผ่านมาไม่นานนี้ครับ..
วัยรุ่นขอบคุณภาพจาก : http://talk.mthai.com/topic/354757
ครูภาษาไทยยัน “ศัพท์วัยรุ่น – ศัพท์เฉพาะกลุ่ม – ศัพท์แสลง” ไม่กระทบโครงสร้างภาษาไทย ชี้ทุกภาษาทั่วโลกดิ้นได้ เตือนเด็กรุ่นใหม่ระมัดระวังใช้คำให้ความเหมาะสมกับ “ตัวบุคคล-กาลเทศะ-โอกาส”

สถานการณ์การใช้ภาษาไทยในปัจจุบัน เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะการใช้ในโลกออนไลน์ ที่ผู้ใช้ส่วนใหญ่มักตัดคำให้สั้นลง เพื่อความสะดวกรวดเร็วในการพิมพ์ นอกจากนี้การเพิ่มอรรถรสและชีวิตชีวาให้กับคำศัพท์ โดยการเติมสระและวรรณยุกต์เข้าไปก็มีการใช้กันอย่างแพร่หลาย อีกทั้งการคิดคำศัพท์เฉพาะกลุ่มเพื่อใช้สื่อสารระหว่างกันแบบไม่เป็นทางการก็ได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้น
นายกิจมาโนชญ์ โรจนทรัพย์ หรือครูลินลี่ ติวเตอร์วิชาภาษาไทยชื่อดัง กล่าวถึงสถานการณ์การใช้ภาษาไทยของเด็กรุ่นใหม่ ว่า ปัจจุบันการใช้ภาษาไทยมีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ทั้งการสื่อสารในชีวิตประจำวันและการเขียน ซึ่งเป็นผลมาจากยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไป ประกอบกับการเข้ามาของเทคโนโลยีสมัยใหม่ ทั้งคอมพิวเตอร์และสมาร์ทโฟน ทำให้พฤติกรรมการใช้ภาษาไทยเปลี่ยนไปค่อนข้างมาก เช่น การเขียนประโยคสั้นลง เพราะช่วยให้การเขียนหรือการพิมพ์ทำได้ง่ายและรวดเร็วมากขึ้น โดยไม่ต้องกดปุ่มยกแป้นพิมพ์เพื่อเติมสระ และการใส่อารมณ์ให้กับภาษาเขียน เพื่อช่วยให้การสื่อสารระหว่างกันมีอรรถรสและเพิ่มความสนุกสนาน เช่น คุณพระ – คุณพร้า , คะ – คร๊ะ , หนู – นู๋ , เธอ – เธอว์ , เดี๋ยว – เด๋ว , น่ารัก – น่าลั๊ค เป็นต้น
ครูลินลี่ กล่าวว่า แม้ว่าสถานการณ์การใช้ภาษาไทยจะเปลี่ยนแปลงไป แต่ก็ไม่ถือว่าเป็นสิ่งที่ร้ายแรงหรือส่งผลกระทบต่อโครงสร้างของภาษาไทย เนื่องจากไม่ได้เป็นการเปลี่ยนแปลงที่ลึกถึงระดับรากของภาษา แต่เป็นเพียงแค่การเปลี่ยนแปลงแบบผิวเผิน ซึ่งหากจัดกลุ่มตามระดับของภาษาไทย 5 ระดับ การใช้ศัพท์วัยรุ่น ศัพท์เฉพาะกลุ่ม และศัพท์แสลงนั้น จะถูกจัดอยู่ในภาษาระดับที่ 5 คือ ระดับกันเอง ซึ่งใช้กันในวงจำกัดและใช้กับบุคคลที่มีความสนิทสนม เช่น เพื่อนสนิท โดยมักจะสื่อสารเรื่องทั่วไปในชีวิตประจำวัน มากกว่าการพูดคุยแบบเป็นทางการ ทั้งนี้การใช้ภาษาไทยที่เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย ถือเป็นเรื่องปกติเพราะภาษาต่างๆ ทั่วโลก สามารถดิ้นได้ จึงไม่ถือว่าการใช้ศัพท์สมัยใหม่เป็นเรื่องที่ผิด
“สิ่งที่น่าเป็นห่วงไม่ใช่เรื่องของโครงสร้างหรือรากของภาษา แต่เป็นเรื่องของการใช้ให้เหมาะสมกับ ระดับบุคคล กาลเทศะ และโอกาส ซึ่งต้องคอยตักเตือนเด็กนักเรียนอยู่ตลอด เพราะบางคนไม่สามารถแยกแยะได้ว่า การพูดคุยกับผู้ใหญ่หรือครูบาอาจารย์ ควรจะต้องระมัดระวังในเรื่องการใช้ถ้อยคำให้เหมาะสม กับคู่สนทนาที่เป็นผู้ใหญ่หรือผู้ที่มีความอาวุโสมากกว่า” ครูลินลี่ กล่าว
ส่วนประเด็นการใช้ศัพท์เฉพาะกลุ่ม สื่อสารกันในกลุ่มเพื่อนสนิทนั้น ครูลินลี่ กล่าวว่า ส่วนตัวไม่คิดว่าการใช้ศัพท์เหล่านี้ จะสร้างผลกระทบหรือทำให้หลักภาษาไทยเปลี่ยนแปลงในวงกว้าง เนื่องจากเป็นการใช้เฉพาะกลุ่มและใช้เพื่อความสนุกสนาน ซึ่งในชีวิตจริงเมื่อถึงคราวที่ต้องใช้ภาษาอย่างเป็นทางการ ก็ไม่มีใครนำมาพูด เช่น การสัมภาษณ์งาน การกล่าวรายงาน หรือการประชุมอย่างเป็นทางการ ดังนั้นการใช้คำเพื่อสื่อสารระหว่างกัน จึงเป็นเรื่องของวัตถุประสงค์ ความเหมาะสม และกาลเทศะในการใช้ มากกว่าความถูกผิด
สอดคล้องกับความเห็นของ นายธเนศ เวศร์ภาดา  คณบดีคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยที่กล่าวว่า การเปลี่ยนแปลงของภาษาถือเป็นเรื่องปกติและเกิดขึ้นทุกยุคทุกสมัย ดังจะเห็นได้จากที่ผ่านมาในสังคมไทยเอง ก็มีคำฮิตในหมู่วัยรุ่น ซึ่งเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย เช่น ชิว ชิว , เอ๊าะ เอ๊าะ , จ๊าบ แต่ในปัจจุบันค่อยๆ เลื่อนหายไป และมีคำใหม่ๆ ขึ้นมาทดแทน เป็นลักษณะของการเกิดขึ้นมาและผ่านไป ดังนั้นสถานการณ์การใช้ภาษาไทยทั้งการสื่อสารและการเขียนในขณะนี้ จึงไม่ถือว่าเป็นวิกฤตที่จะทำให้หลักภาษาไทยได้รับผลกระทบ จนถึงขั้นเกิดการเปลี่ยนแปลงในระดับโครงสร้างของภาษา
นายธเนศ กล่าวต่อว่า ประเด็นสำคัญที่หลายคนตั้งข้อสังเกตว่า ขณะนี้เด็กไทยรุ่นใหม่ มีการใช้ภาษาไทยเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ส่วนหนึ่งอาจมาจากการสื่อสารผ่านทางสังคมออนไลน์ จึงทำให้คนในสังคมเห็นการสื่อสารของวัยรุ่น โดยเฉพาะใช้ศัพท์เฉพาะกลุ่มและศัพท์แสลงมากขึ้น แต่อย่างไรก็ตามต้องเข้าใจว่าการสื่อสารลักษณะนี้ เป็นการสื่อสารกันระหว่างกลุ่มเพื่อน ซึ่งไม่ใช่การพูดคุยอย่างเป็นทางการ ดังนั้นการใช้คำคะนองหรือคำศัพท์ที่คิดค้นขึ้นมากันเองในกลุ่ม จึงไม่ใช่เรื่องเสียหาย ตัวอย่างคำว่า จุงเบย ที่กำลังฮิตอยู่ในขณะนี้ เป็นการออกเสียงที่ไม่ตรงกับภาษาเขียน แต่ยังมีความหมายคงเดิม ซึ่งสามารถสื่อสารกันได้เข้าใจ
“ต้องเข้าใจว่าการเปลี่ยนแปลงของไทยรวมถึงภาษาอื่นๆ ทั่วโลก ล่วนแล้วแต่เป็นการเปลี่ยนแปลงของคำศัพท์ หรือการดัดแปลงคำขึ้นมาใหม่ เช่น แอ๊บแบ๊ว , สก๊อย หรือการเพิ่มวงศ์ศัพท์ใหม่ที่ไม่เคยมีมาก่อน ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นศัพท์เกี่ยวกับอาหาร เช่น แหนมเนือง , เฝ่อ , ติ่มซำ ซึ่งไม่ใช่การเปลี่ยนแปลงในระดับโครงสร้างหรือไวยกรณ์ จึงไม่ส่งผลกระทบต่อโครงสร้างและรากของภาษาไทย” นายธเนศ กล่าว
นายธเนศ กล่าวอีกว่า การเปลี่ยนแปลงภาษาในระดับโครงสร้างหรือเปลี่ยนแปลงไวยกรณ์นั้น ที่ผ่านมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ทั้งภาษาไทยและภาษาอื่นๆ ทั่วโลก ยังไม่เคยมีการเปลี่ยนแปลงในระดับดังกล่าว เนื่องจากโครงสร้างของภาษาทุกภาษา มีความมั่นคงและแข็งแรงเป็นอย่างมาก แต่อย่างไรก็ตามผลกระทบจากการใช้ภาษาที่สองมาจนเกินไป ก็อาจส่งผลกระทบต่อโครงสร้างภาษาไทยได้ เช่น ปัจจุบันมีการใช้ภาษาอังกฤษเพิ่มมากขึ้น ซึ่งหากไม่ระมัดระวังในการใช้ อาจมีการนำโครงสร้างของภาษาอังกฤษเข้ามาผสมในโครงสร้างของภาษาไทยได้ ซึ่งเป็นสิ่งที่ควรระมัดระวังมากกว่าการใช้คำศัพท์วัยรุ่น ศัพท์เฉพาะกลุ่ม และศัพท์แสลง ที่เกิดขึ้นมาแล้วผ่านไป
ทั้งนี้ จากการสอบถามกลุ่มนักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไป ในเรื่องการใช้ภาษาไทยของเด็กรุ่นใหม่ ต่างเห็นตรงกันว่า การใช้ภาษาไทยในการสื่อสารกันระหว่างกลุ่มเพื่อนและสังคมออนไลน์ ไม่น่าจะสร้างผลกระทบต่อโครงสร้างและหลักของภาษาไทย เนื่องจากส่วนใหญ่เป็นการสื่อสารกันด้วยเรื่องราวที่ไม่เป็นทางการ อีกทั้งเป็นการพูดคุยกันแบบสนุกสนาน แต่ก็ยอมรับว่าบางครั้งเน้นสื่อสารกันด้วยความสนุกสนานมากจนเกินไป จึงมักหลุดใช้คำที่ไม่เหมาะสมออกไปโดยที่ไม่ได้ตั้งใจ
แต่อย่างไรก็ตามสำหรับภาษาไทยที่ใช้อย่างเป็นทางการ หรือใช้ในการเรียนการสอนเพื่อนำไปสอบนั้น ยังคงต้องศึกษาให้ถูกต้องตามหลักโครงสร้างของภาษาไทยอยู่ดี
                                                                                          cr.http://popperest.wordpress.com/






ในด้าน ของการคุย กันในเฉพาะกลุ่ม ช่วยในด้านการสื่อสารเพื่อความเข้าใจ และสนุกสนาน ในกลุ่มวัยรุ่นในปัจจุบันนนน !!!




5.การใช้คำสแลงของวัยรุ่น ในการโฆษณา สินค้า  / ป้ายโฆษณา
  
คำสแลงในป้ายโฆษณา  คือคำที่ใช้ดึงดูด และชวนเชิญให้ ผู้บริโภคเชื่อ  



มีการใช้คำแบบ แปลกใหม่ โดยเป็นคำสแลงของวัยรุ่นที่มักใช้ในปัจจุบัน  บางครั้งอาจใช้คำผิดความหมาย 
ซึ่งเรามักพบ ในป้ายโฆษณา สินค้า 



เช่น



















วิ้งๆ = กระจ่างใส  , สดใส
ขาวโบ๊ะ= ขาวแบบไม่เป็นธรรมชาติ
เวอร์= มาก , เยอะแยะ